1. การได้ยินเสียง
คลื่นเสียงเป็นสิ่งเร้า
เมื่อคลื่นเสียงผ่านเข้าสู่ช่องหูส่วนนอก (External
auditory canal) ไปสู่หูส่วนกลาง
(middle ear) ซึ่งมีเยื่อแก้วหู (lympanic
membrane) คลื่นเสียงทำให้อากาศสั่นสะเทือนส่งผลให้เยื่อแก้วหูสั่น
กระทบกับกระดูกหูรูปค้อน กระดูกรูปทั่งและกระดูกรูปโกลน
ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนไปยังของเหลว Perilymph
และของเหลวEndolymph
ในหูส่วนใน
ซึ่งคลื่นของเหลวนี้จะไปกระตุ้นเซลล์รับเสียงส่งต่อไปยังประสาทรับเสียง (auditory nerve) ส่งไปยังศูนย์กลางรับเสียงในสมอง ซึ่งแปลความรู้สึกเป็นเสียงต่างๆ
ที่มา http://amfinewell.wordpress.com/2013/01/22/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%B4%E0%B8%99-3/
จากการศึกษาที่ผ่านมาทำให้เราทราบว่า
การได้ยินเสียงของมุษย์ต้องขึ้นกับระดับความเข้มเสียง และความถี่เสียง ( 20 - 20,000 Hz )การเริ่มได้ยินเสียงใดๆของมนุษย์จะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์
2 อย่าง คือ ระดับความเข้มเสียง(ความดัง)
และความถี่เสียงนั้น แสดงรายละเอียดในกราฟ
ที่มา:thegeniusphysics.blogspot.com
จากราฟ
เส้นด้านล่างแสดงขีดเริ่มของการเริ่มได้ยินเสียงของมนุษย์
จะเห็นว่าช่วงความถี่ต่ำ เช่นความถี่เสียง 100 Hz มนุษย์จะเริ่มได้ยินเสียงที่จะต้องมีระดับความเข้มเสียงถึง 40
dB แต่เสียงความถี่ช่วงกลางๆ
ช่วง 2,000 - 4,000 Hz จะเริ่มได้ยินเสียงตั้งแต่ระดับความเข้มเสียงน้อยกว่า 0
dB
กราฟเส้นบน
แสดงขีดเริ่มการเจ็บปวดของหู เช่น เสียงความถี่ 2,000
Hz เมื่อมีระดับความเข้มเสียงเท่ากับ 120 dB จะเริ่มปวดหู
2. ประโยชน์ของเสียง
นอกจากเราจะใช้เสียงในการสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยกันและกับสัตว์อื่น ๆ
ยังมีการประยุกต์เอาเสียงไปใช้ในลักษณะต่างๆมากมาย เช่น
1. เสียงด้านวิศวกรรมและอุตสาหกรรม
วิศวกรใช้คลื่นเหนือเสียงในการตรวจสอบรอยร้าวหรือรอยตำหนิในโลหะ แก้วหรือ
เซรามิก โดยการส่งคลื่นเสียงที่มีความถี่ในช่วง 500 กิโลเฮิรตซ์ ถึง 15เมกะเฮิรตซ์ ผ่านเข้าไปในชิ้นงาน
ที่ต้องการตรวจสอบ แล้ววิเคราะห์ลักษณะของคลื่นสะท้อน หรือวิเคราะห์ลักษณะคลื่นที่รบกวนในคลื่นที่ผ่านออกไป
วิธีนี้นอกจากจะใช้ตรวจสอบชิ้นงานประเภทโลหะหล่อ หรือเซรามิกแล้ว
ยังถูกนำไปใช้ตรวจสอบยางรถยนต์ที่ผลิตใหม่ด้วย
เครื่องมือวัดความหนาของแผ่นโลหะ หรือวัสดุที่มีความแข็งอื่นๆ
สามารถทำได้โดย ใช้คลื่นเหนือเสียง แม้คลื่นจะไม่สามารถทะลุถึงอีกด้านหนึ่ง
ของผิวหน้าแผ่นโลหะนั้นได้ก็ตาม เช่น
การตรวจสอบความหนาของหม้อต้มน้ำความดันสูงสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมเป็นต้น
คลื่นเหนือเสียงพลังงานสูงยังถูกนำไปใช้อย่างกว้างขวางในการทำความสะอาดผิวของเครื่องใช้ขนาดเล็ก
เช่น ชิ้นส่วนในนาฬิกาข้อมือและแว่นตา เป็นต้น
เพื่อให้อนุภาคสกปรกที่จับเกาะผิวสั่นด้วยพลังงานของคลื่นเหนือเสียง
เพราะความถี่ธรรมชาติของอนุภาคสกปรกตรงกันกับความถี่ธรรมชาติคลื่นเหนือเสียง
คลื่นจึงทำให้อนุภาคสกปรกเหล่านั้นหลุดจากผิวโลหะไปลอยปะปนไปในของเหลวที่โลหะแช่อยู่
2. ด้านการแพทย์
การใช้เสียงย่านความถี่อุลตราโซนิค(เกิน
20,000 Hz) ในการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์
โดยอาศัยหลักการส่งคลื่นเข้าไปกระทบกับอวัยวะภายใน
แล้อาศัยคุณสมบัติการสะท้อนของเสียงออกมา
แล้วไปแปลงสัณญาณด้วยความพิวเตอร์เป็นภาพให้เห็นได้ เช่น
การตรวจหาเนื้องอกในร่างกาย , ตรวจลักษณะความสมบูรณ์และเพศของทารกในครรภ์
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง(Echocardiography)
เป็นการตรวจหัวใจโดยใช้เครื่องมือที่มี
ประสิทธิภาพสูง ทำงานโดยอาศัยหลัก การส่งคลื่นเสียงความถี่สูงซึ่งส่งออก มาจาก
ผลึกแร่ชนิดพิเศษ และเมื่อรับสัญญานคลื่นเสียงที่ส่งออกไป นำมาแปรสัณญาน
เป็นภาพขึ้น จะทำให้สามารถเห็นการทำงาน ของหัวใจ ขณะกำลังบีบตัว และคลายตัว
และโดยการใช้เทคโนโลยีอันทันสมัย ทำให้ เราสามารถเห็น
การไหลเวียนของเลือดผ่านช่องหัวใจ ห้องต่างๆเป็นภาพสี และเห็นการทำงาน ปิด-เปิด
ของลิ้นหัวใจทั้งสี่ลิ้นได้
3. ด้านการประมงค์และสำรวจใต้น้ำ
รูปแสดงเรือใช้คลื่น Sonar สำรวจใต้ทะเล
ที่มา :topicstock.pantip.com
ส่งคลื่นเสียง
ลงไปใต้น้ำเพื่อการตรวจหาฝูงปลา
และสิ่งแปลกปลอมกีดขวางภายใต้ทะเลลึกและการวัดความลึกของท้องทะเลโดยใช้หลักการของการสะท้อนเสียง
ซึ่งเรียกกันว่า "ระบบโซนาร์"
หลักการทำงาน
คลื่นเสียงความถี่สูงจะถูกส่งผ่านออกจากหัวตรวจที่เราเรียกว่า transducer ส่งไปที่หัวใจ
ทำให้เกิดคลื่นเสียงสะท้อนกลับ เรียกว่า echo และระยะเวลา
ที่ใช้ในการเดินทางของคลื่นเสียงสะท้อนกลับ จะแปรเปลี่ยนตามระยะทางที่ใช้ซึ่งก็คือ
ระยะห่างของโครงสร้าง ต่างๆใน หัวใจ นั่นเอง
แล้วคอมพิวเตอร์ในเครื่องจะทำการประมวลผลแปลสัญญาณออกมาเป็นภาพ
ความถี่ที่ใช้ในการทำส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงประมาณ 2-10 MHz แต่ที่ใช้บ่อยที่สุดคือประมาณ 2.5-5MHz
ซึ่งจะเห็นว่าเป็นย่านความถี่สูงกว่าความถี่เสียงที่คนเราได้ยินคือ 2-18KHz
การใช้ความถี่ต่างกัน
จะมีผลต่อความละเอียดของภาพและความสามารถในการส่งผ่านทะลุเข้าไปในเนื้อเยื่อ
กล่าวคือ คลื่นความถี่ที่สูงกว่าจะให้ความละเอียดของภาพได้มากกว่า
แต่ความสามารถในการทะลุเข้าเนื้อเยื่อจะได้น้อยกว่า ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าใช้คลื่นความถี่ 5MHz จะสามารถเห็นรายละเอียดของภาพได้ถึง
2 มิลลิเมตร ขณะที่คลื่นความถี่ 3MHz จะเห็นรายละเอียด
ของภาพ ได้ในระดับ 3มิลลิเมตร
แต่ขณะเดียวกันถ้าผู้ป่วยที่มีลักษณะอ้วนหรือตัวใหญ่ คลื่นที่มีความถี่สูงซึ่งทะลุเข้าเนี้อเยื่อได้น้อยกว่าคลื่นความถี่ต่ำกว่าก็อาจจะไม่สามารถมองเห็นภาพบางส่วนที่อยู่ลึกๆได้
ที่มา :http://thegeniusphysics.blogspot.com/p/10.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น