1. ความเข้มเสียง
เสียงเกิดจากการสั่นของวัตถุต้นกำเนิดเสียง ถ้าแหล่งกำเนิดเสียงสั่นแรงจะทำให้มีแอมปลิจูดมากและถ้าสั่นเบา แอมปลิจูดน้อย เมื่อมีโมเลกุลของอากาศที่อยู่รอบๆแหล่งกำเนิดเสียง และจะเกิดการถ่ายโอนพลังงานเสียงไปสู่ผู้ฟัง ผู้ฟังจะได้ยินเสียงดังหรือเบาขึ้นกับพลังงานเสียงที่ถ่ายโอนผ่านโมเลกุลอากาศมาว่ามีพลังงานถ่ายโอนมามากหรือน้อย นอกจากนั้นยังมีเรื่องระยะทางในการถ่ายโอนพลังงานเสียงซึ่งจะมีผลต่อการได้ยินเสียงดังหรือเบาอีกด้วย
กำลังเสียง ( Power of sound wave )
อัตราการถ่ายโอนพลังงานเสียงของแหล่งกำเนิดเสียง คือพลังงานเสียงที่ส่งออกมาจากแหล่งกำเนิดในหนึ่งหน่วยเวลา เรียกว่า กำลังเสียง มีหน่วยเป็น จูลต่อวินาที หรือ วัตต์(watt)
สำหรับแหล่งกำเนิดเสียงที่เป็นจุด ถือว่าหน้าคลื่นเสียงจะแผ่ออกไปโดยรอบเป็นรูปทรงกลม โดยมีแหล่งกำเนิดคลื่นเป็นจุดศูนย์กลางของทรงกลมนั้น
เสียงเกิดจากการสั่นของวัตถุต้นกำเนิดเสียง ถ้าแหล่งกำเนิดเสียงสั่นแรงจะทำให้มีแอมปลิจูดมากและถ้าสั่นเบา แอมปลิจูดน้อย เมื่อมีโมเลกุลของอากาศที่อยู่รอบๆแหล่งกำเนิดเสียง และจะเกิดการถ่ายโอนพลังงานเสียงไปสู่ผู้ฟัง ผู้ฟังจะได้ยินเสียงดังหรือเบาขึ้นกับพลังงานเสียงที่ถ่ายโอนผ่านโมเลกุลอากาศมาว่ามีพลังงานถ่ายโอนมามากหรือน้อย นอกจากนั้นยังมีเรื่องระยะทางในการถ่ายโอนพลังงานเสียงซึ่งจะมีผลต่อการได้ยินเสียงดังหรือเบาอีกด้วย
กำลังเสียง ( Power of sound wave )
อัตราการถ่ายโอนพลังงานเสียงของแหล่งกำเนิดเสียง คือพลังงานเสียงที่ส่งออกมาจากแหล่งกำเนิดในหนึ่งหน่วยเวลา เรียกว่า กำลังเสียง มีหน่วยเป็น จูลต่อวินาที หรือ วัตต์(watt)
สำหรับแหล่งกำเนิดเสียงที่เป็นจุด ถือว่าหน้าคลื่นเสียงจะแผ่ออกไปโดยรอบเป็นรูปทรงกลม โดยมีแหล่งกำเนิดคลื่นเป็นจุดศูนย์กลางของทรงกลมนั้น
จากรูป แสดงการแผ่ของหน้าคลื่นเสียงออกจากแหล่งกำเนิดที่จุดศูนย์กลางทรงกลม ยิ่งไกลจากแหล่งกำเนิดพื้นที่ผิวทรงกลมที่คลื่นเสียงตกกระทบยิ่งมีค่ามาก
กำลังเสียงที่แหล่งกำเนิดเสียงส่งออกไปต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ผิวทรงกลม เรียกว่า ความเข้มเสียง ( intensity of a sound wave) ถ้าให้กำลังเสียงที่ส่งออกจากแหล่งกำเนิเสียงมีค่าคงตัว จะได้ความสัมพันธ์ว่า
จากสมการความเข้มเสียง
จะเห็นความสัมพันธ์ว่า
· ความเข้มเสียง แปรผันตรงกับกำลังเสียงของแหล่งกำเนิด
(กำลังเสียงแหล่งกำเนิดมาก ได้ความเข้มเสียงมาก)
· ความเข้มเสียง แปรผกผันกับขนาดพื้นที่ผิวทรงกลมรับเสียง
(พื้นที่รับเสียงมาก ความเข้มเสียงน้อย)
· ความเข้มเสียง แปรผกผันกับกำลังสองของระยะห่างจากแหล่งกำเนิดเสียง (ยิ่งไกล
ความเข้มเสียงยิ่งลดลง)
· ถ้ามีต้นกำเนิดเสียงหลายแหล่ง สามารถหาความเข้มเสียงรวมที่ปรากฏที่จุดหนึ่งได้จากการรวมแบบปกติ
โดยความเข้มเสียงรวม = I1 + I2 + I3 + ...
สมการเปรียบเทียบความเข้มเสียง 2 ค่า
ความเข้มเสียงแปรผันตรงกับค่าแอมปลิจูดของคลื่นเสียงยกกำลังสอง ความเข้มเสียงมากจะได้เสียงดัง ความเข้มเสียงน้อยจะได้เสียงเบา
ตัวอย่าง แหล่งกำเนิดสียงมีกำลังเสียง 12.75 วัตต์ ที่ระยะห่างออกไปจากแหล่งกำเนิดเสียง 1
เมตร และ 2 เมตร
ความเข้มเสียงใดจะมากกว่า และมากกว่ากันกี่เท่า และที่ระยะห่างแหล่งกำเนิด 10 เมตร
มีค่าความเข้มเสียงกี่วัตต์ต่อตารางเมตร
แนวคิด
ใช้สมการ
ที่ระยะห่าง 1 เมตร มีความเข้มเสียงมากกว่าความเข้มเสียงที่ระยะ
2 เมตร เมื่อ P คงตัว I แปนผกผันกับรัศมี r ยกกำลังสอง หาอัตราส่วนความเข้มเสียง ได้ว่า
หาความเข้มเสียงที่ระยะห่าง 10 เมตร แทนค่าในสมการ
2. ระดับความเข้มเสียง
การบอกความดังหรือเบาของเสียงด้วยความเข้มเสียงที่ผ่านมานั้นจะเห็นว่าช่วงจากเสียงเบาที่สุด
ไปหาดังที่สุด มีช่วงมากกว่ากันถึง 10 ยกกำลัง 12 เท่า
จึงไม่เหมาะจะใช้บอกถึงความดังหรือเบา จึงเปลี่ยนมาใช้การบอกดัง
หรือเบา ด้วยค่า ระดับความเข้มเสียง โดยเทียบมาจากความเข้มเสียง โดยระดับความเข้มเสียง จะมีลักษณะคล้ายค่าลอกการิทึม ในวิชาคณิตศาสตร์
โดยระดับความเข้มเสียงมีความสัมพันธ์กับความเข้มเสียงต่ำสุด ได้ว่า
จากสมการ ระดับความเข้มเสียง เมื่อแทนค่าความเข้มเสียงสูงสุดที่ทนฟังได้ เมื่อแก้สมการ จะได้ค่าระดับความเข้มเสียงสูงสุดที่ทนฟังได้เท่ากับ
120 dB และแทนค่าความเข้มเสียงน้อยสุดที่ได้ยินลงไปแล้วแก้สมการ
จะได้ระดับความเข้มเสียงน้อยที่สุด 0 dB ดังนั้นเมื่อบอกระดับความเข้มเสียงจะทำให้ระดับความเข้มเสียงสูงสุดและต่ำสูงต่างกันอยู่เพียง
120 dB หรือ 12 B เท่านั้น
ถ้ามีการสังเกตที่ 2 ตำแหน่ง ซึ่งมีค่าระดับความเข้มเสียงแตกต่างกัน สามารถเขียนสมการผลต่างของระดับความเข้มเสียงได้ดังนี้
ระดับความเข้มเสียงจากแหล่งกำเนิดต่างๆ
แหล่งกำเนิด
|
ระดับความเข้มเสียง
(เดซิเบล, dB )
|
ผลการรับฟัง
|
การหายใจปกติ
การกระซิบแผ่วเบา
สำนักงานที่เงียบ
การพูดคุยธรรมดา
เครื่องดูดฝุ่น
โรงงาน, ถนนที่มีการจราจรหนาแน่น
เครื่องเสียงสเตอริโอในห้อง,เครื่องเจาะถนนแบบอัดลม,
เครื่องตัดหญ้า ดิสโก้เธค, การแสดงดนตรีประเภทร๊อค
ฟ้าผ่าระยะใกล้ๆ
เครื่องไอพ่นกำลังขึ้นใกล้ๆ
จรวดขนาดใหญ่กำลังขึ้นใกล้ ๆ
|
10
30
50
60
75
80
90
100
120
130
150
180
|
แทบจะไม่ได้ยิน
เงียบมาก
เงียบ
ปานกลาง
ดัง
ดัง
รับฟังบ่อยๆ
การได้ยินจะ
เสื่อมอย่างถาวร
ไม่สบายหู
เจ็บปวดในหู
แก้วหูชำรุดทันที
|
3. มลภาวะของเสียง
ถ้าเสียงที่มีพลังงานมากๆ เข้าสู่หูซึ่งเป็นอวัยวะรับเสียง อาจทำให้เกิดความเจ็บปวดหู หรือเกิดความรำคาญ เสียงจึงเป็นสิ่งที่อาจทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น มีผลต่ออารมณ์ ความรู้สึก ตลอดจนตอบสนองต่อสิ่งเร้า ทำให้รู้สึกได้ถึงแหล่งกำเนิดเสียง เช่น เสียงด่า เสียงโกรธ เสียงไพเราะ ถ้าเสียงที่ได้ยินทำให้เกิดผลเสียต่อผู้ฟังไม่ว่าจะด้านร่างกายหรือจิตใจ ถือว่าเป็นมลพิษอย่างหนึ่ง
ในปัจจุบัน ขณะที่เทคโนโลยี่พัฒนามากขึ้น ทำให้เราต้องได้รับมลพิษทางเสียงมากขึ้น ในการป้องกันมลพิษทางเสียง ได้มีประกาศเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานในบริเวณที่มีเสียงดัง ของกระทรวงมหาดไทย ดังนี้
ที่มา :http://thegeniusphysics.blogspot.com/p/8.html
;http://www.sa.ac.th/winyoo/Sound/sound_intensity.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น