วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การเคลื่อนที่ของคลื่นเสียง

เสียงเกิดจากการสั่นของวัตถุต้นกำเนิด คือ เมื่อเราให้งานหรือพลังงานแก่วัตถุต้นกำเนิดเสียง พลังงานของการสั่นจะถ่ายโอนให้กับโมเลกุลของตัวกลางที่อยู่รอบๆ ทำให้โมเลกุลของตัวกลางสั่น แล้วถ่ายโอนพลังงานให้กับโมเลกุลถัดไป มีผลให้คลื่นเสียงแผ่กระจายออกไปโดยรอบแหล่งกำเนิดโดยโมเลกุลของตัวกลางไม่ได้เคลื่อนที่ไปพร้อมกับคลื่นเสียง หลังจากเสียงเคลื่อนที่ผ่านไปแล้วโมเลกุลของตัวกลางแต่ละตำแหน่งยังคงอยู่ที่เดิม นั่นคือ คลื่นเสียงเคลื่อนที่ผ่านโมเลกุลของตัวกลางจะเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์โมนิกในแนวเดียวกับที่การเคลื่อนที่ของเสียง ดังนั้นเสียงจึงเป็นคลื่นตามยาว
เมื่อพิจารณาการเคลื่อนที่ของเสียงในอากาศ  ขณะที่เสียงผ่านอากาศโมเลกุลของอากาศจะเกิดการสั่นทำให้เกิดเป็นช่วงอัด (compression) และช่วงขยาย (rarefaction)


ที่มา http://www.sa.ac.th/winyoo/Sound/Applets/Waves/Lwave01/Lwave01Applet.html


     เมื่อวัตถุแหล่งกำเนิดเสียงเกิดการสั่น จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของโมเลกุลอากาศต่อเนื่องสลับกันไป เกิดการถ่ายถอดพลังงานผ่านโมเลกุลอากาศออกไป บริเวณที่อากาศอัดตัว อากาศจะมีความดันสูงกว่าปกติ และบริเวณที่อากาศขยายตัวจะมีความดันต่ำกว่าปกติ


ที่มา http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=75593
จากรูป          
· ณ ตำแหน่งที่อากาศอัดตัว จะทำให้ความดันอากาศสูงสุด โดยโมเลกุลที่ตำแหน่งกึ่งกลางช่วงอัดไม่มีการกระจัด ดังนั้นตำแหน่งนี้การกระจัดโมเลกุลอากาศเป็นศูนย์
· ณ ตำแหน่งที่อากาศขยายตัว จะทำให้ความดันอากาศต่ำสุด โดยโมเลกุลที่ตำแหน่งกึ่งกลางช่วงอัดไม่มีการกระจัด ดังนั้นตำแหน่งนี้การกระจัดโมเลกุลอากาศเป็นศูนย์ 
· เมื่อเปรียบเทียบเฟสของกราฟความดันอากาศกับกราฟการกระจัดโมเลกุลอากาศ พบว่ากราฟมีเฟสต่างกัน 90 องศา(โดยเฟสการกระจัดมากกว่า)
·ระยะจากกลางช่วงอัดถึงอัดที่อยู่ถัดกัน หรือขยายถึงขยายที่อยู่ถัดกันไป จะมีระยะห่างกันเท่ากับ 1 ความยาวคลื่น

ที่มา http://www.alicerecordingstudio.com/article_webpage/article_sound_theory_webpage/article_webpage_sound_theory/article_webpage_sound_theory_01.html



ที่มา : http://thegeniusphysics.blogspot.com/p/3.html 
        :http://www.sa.ac.th/winyoo/Sound/Applets/Waves/Lwave01/Lwave01Applet.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น